แนวคิดหลักการเกี่ยวกับชุดการสอน

 

      ชุดการสอนเป็นสื่อประสมสำหรับใช้ในการเรียนการสอนที่มีกระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถปรับพฤติกรรมการเรียนรู้ให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ความเป็นมาของชุดการสอน

ความเป็นมาของชุดการสอน

ความหมายของชุดการสอน

ประเภทของชุดการสอน

หลักการสร้างชุดการสอน

ส่วนประกอบและวิธีใช้ชุดการสอน

การทดสอบประสิทธิภาพชุดการสอน

ประโยชน์ของชุดการสอน

หน้าหลักงานวิจัย

 

          ชุดการสอนมีขึ้นในโรงเรียนของประทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 โดย David Stansfield แห่งสถาบัน Onterio Institute for Studies in Education เป็นผู้คิดกล่องอเนกประสงค์ขึ้นสำหรับเด็กเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการสอน ซึ่งเขาใช้ประสบการณ์จากการเรียนรู้ในเรื่องการสอนสำเร็จรูป (Programmed Learning) มาผลิตกล่องที่ขาเรียกว่า  Thirties Box ต่อมาได้พัฒนาเป็น Perception Bag, Audiovisual Juke Box และ Eco Box กล่องการสอนเหล่านี้รียกว่า The 1930 Multi Kit  ปรากฏว่าเป็นชุดการสอน ในปัจจุบันระบบการผลิตชุดการสอนในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2516  ที่แผนกโสตทัศนศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ทำการทดลองกับนิสิตปริญญาโท 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน สอนแบบบรรยายและกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน สอนโดยใช้ชุดการสอน ผลปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ความคงทนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้นท่านจึงได้นำระบบที่ทำการทดลองมาปรับเป็นการสัมมนาชิงปฏิบัติการตามสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒบางเขน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2553, หน้า 123) ส่วนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ได้มีการนำระบบการผลิตชุดการสอนมาขยายผลโดยมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อาจารย์วิทยาลัยครูและครูประจำการ เพื่อใช้ในรูปแบบของชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน    

 

อ้างอิงจาก

ชัยยงค์  พรหมวงศ์. (2523). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากับการสอนระดับ
อนุบาล
.กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.